สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่
ประวัติและความเป็นมาของแผนที่
ความสามารถในการทำแผนที่เป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ชาติ พฤติกรรมที่ แสดงออกทาง แผนที่มีมานานแล้ว พวกเอสกิโมรู้จักการทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนหนังแมวน้ำแสดงแหล่งล่าสัตว์ ตกปลาชาวเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนเกาะ ก้านมะพร้าว แทนเส้นทางการเดินเรือละบริเวณที่มีคลื่นจัดแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือแผนที่ของชาวเมโสโปเตเมีย เมื่อ 2,300ปี ก่อนปีพุทธศักราช สมัยกรีกโบราณ เป็นผู้วางรากฐานในการทำแผนที่ เริ่มด้วยการพิสูจน์ปี พ.ศ.323ว่าโลกกลม และมีการวัดขนาดของโลกโดยสร้างเส้นสมมุติที่เรียกว่า เส้นขนานและเส้นเมอริเดียน
แผนที่
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มนุษย์ใช้ช่วยในการดำเนินกิจการงานต่างๆ ตลอดจนการศึกษาหาความรู้ในด้านวิชาการและในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบันที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือแผนที่เปรียบเสมือนเป็นชวเลขที่ดียิ่งของนักภูมิศาสตร์อันที่จะเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ให้ละเอียดลึกซึ้ง
ความหมายของแผนที่
หมายถึง
การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกมาย่อส่วนให้เล็กลงแล้วนำมาเขียนลงกระดาษแผ่นราบสิ่งต่างๆบนพื้นโลกประกอบไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สีเส้นหรือรูปร่างต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทน
ความสำคัญของแผนที่
เป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงานแผนที่ตั้งแต่โบราณ ประโยชน์ของแผนที่ในสมัยนั้น
คือใช้เป็นเครื่องแสดงเส้นทางเดิน ถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารในทางภูมิศาสตร์ถือว่าแผนที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ มีความสำคัญต่อการศึกษาข้อมูลเพื่อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและทางการเมืองมีความจำเป็นในการวางผังเมืองให้เหมาะสมกับการขยายตัวของชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ประโยชน์ของแผนที่
1. ประโยชน์ทางด้านการเมืองการปกครอง
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ
ตัวอย่างเช่น แนวพรมแดนระหว่างประเทศ จำเป็นต้องอาศัยแผนที่ในการวางแผนดำเนินการ
เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง
2.
ประโยชน์ทางด้านการทหารในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร
จำเป็นต้องหาข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ
3.ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
เศรษฐกิจ
เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่ของประชาชนภายในชาติเพื่อการใช้งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบทำเลที่ตั้ง
ยังช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มากขึ้น
ทำให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
4.
ประโยชน์ทางด้านจากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์
ทำให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมเดิมเปลี่ยนแปลงไปศึกษาความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูล
และวางแผนการป้องกันผลกระทบจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
5. ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน
แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจและก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ
ภูมิภาควัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่าง ๆ
รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่าง ๆ
6. ประโยชน์ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว
แผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย
สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
การจำแนกชนิดของแผนที่
1.การจำแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่แบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
1.1 แผนที่ลายเส้น ( Line
Map)
เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของเส้น
ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนที่ทรวดทรง
1.2 แผนที่ภาพถ่าย ( Photo
Map )
เป็นแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทำด้วยวิธีการนำเอาภาพถ่ายมาทำการดัดแก้
1.3 แผนที่แบบผสม ( Annotated
Map)
เป็นแบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย
โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ
ส่วนรายละเอียดที่สำคัญ ๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนนหรือเส้นทาง
รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น
2.
การจำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วนประเทศต่าง ๆ
อาจแบ่งชนิดของแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนไม่เหมือนกัน เช่น
2.1 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักภูมิศาสตร์
1. มาตราส่วนเล็ก ได้แก่
แผนที่ มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000
2. มาตราส่วนกลาง ได้แก่
แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
3. มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่
แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
2.2 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร
1. มาตราส่วนเล็ก ได้แก่
แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 และเล็กกว่า
2. มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า
1:600,00แต่เล็กกว่า 1:75,000
3. มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่
แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า
3.
การจำแนกชนิดแผนที่ตามลักษณะการใช้งานและชนิดของรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนที
3.1 แผนที่ทั่วไป (General
Map) เป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไป
3.2 แผนที่แสดงทางราบ (Planimetric
Map)เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลกเฉพาะสัณฐานทางราบเท่านั้น
3.3 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic
Map)เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดทั้งทางแนวราบและแนวดิ่ง
หรืออาจแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ
3.4 แผนที่พิเศษ (Special
Map or Thematic Map) สร้างขึ้นบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อใช้ในกิจการเฉพาะอย่าง
4. การจำแนกตามมาตรฐานของสมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ(ICA)
ได้จำแนกชนิดแผนที่ออกเป็น 3 ชนิด
4.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic
map)
รวมทั้งผังเมืองและแผนที่ภูมิศาสตร์ เป็นแผนที่ที่ให้รายละเอียด
โดยทั่วๆ ไป ของภูมิประเทศ โดยสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วนขนาดเล็ก กลาง
และขนาดใหญ่ และได้ข้อมูลมาจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม
4.2 ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts
and road map)
เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทาง โดยปกติจะเป็นแผนที่มาตราส่วนกลาง หรือมาตราส่วนเล็กและแสดงเฉพาะสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้ เช่น ชาร์ตเดินเรือ ชาร์ตด้านอุทกศาสตร์ เป็นต้น
4.3 แผนที่พิเศษ (Thematic
and special map)
ปัจจุบันมีความสำคัญมากขึ้นเพราะสามารถใช้ประกอบการทำวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การวางแผนและใช้ในงานด้านวิศวกรรมแผนที่ชนิดนี้จะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องลงไป เช่น แผนที่ดิน แผนที่ประชากร
แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น